วันเสาร์ที่ 24 สิงหาคม พ.ศ. 2562

บทที่1เรื่องความปลอดภัยและทักษะในการปฏิบัติการเคมี

เรื่องความปลอดภัยและทักษะในการปฏิบัติการเคมี

  1. 1 ความปลอดภัยในการทำงานกับสารเคมี
การทำปฏิบัติการเคมีส่วนใหญ่ต้องมีความเกี่ยวข้องกับสารเคมี อุปกรณ์และเครื่องมือต่าง ๆ ซึ่งผู้ทำปฏิบัติการต้องตระหนักถึงความปลอดภัยของตนเอง ผู้อื่นและสิ่งแวดล้อมโดยผู้ทำปฏิบัติการควรทราบเกี่ยวกับประเภทของสารเคมีที่ใช้ ข้อควรปฏิบัติในการทำปฏิบัติการเคมี และการกำจัดสารเคมีที่ใช้แล้วหลังเสร็จสิ้นปฏิบัติการเพื่อให้สามารถท้าปฏิบัติการเคมีได้อย่างปลอดภัย 
11. 1 ประเภทของสารเคมี
สารเคมีมีหลายประเภทแต่ละประเภทมีสมบัติแตกต่างกันสารเคมีจึงจำเป็นต้องมีฉลากที่มีข้อมูลเกี่ยวกับความเป็นอันตรายของสารเคมีเพื่อความปลอดภัยในการจัดเก็บการนำไปใช้และการาจัดโตยฉลากของสารเคมีที่ใช้ในห้องปฏิบัติการควรมีข้อมูลดังนี้
1. ชื่อผลิตภัณฑ์ 
2 รูปสัญลักษณ์แสดงความเป็นอันตรายของสารเคมี 
3. คำเตือนข้อมูลความเป็นอันตรายและข้อควรระวัง 
4. ข้อมูลของบริษัทผู้ผลิตสารเคมี

               บนฉลากบรรจุภัณฑ์มีสัญลักษณ์แสดงความเป็นอันตรายที่สื่อความหมายได้ชัดเจนเพื่อให้ผู้ใช้สังเกตได้ง่ายสัญลักษณ์แสดงความเป็นอันตรายมีหลายระบบในที่นี้จะกล่าวถึง 2 ระบบที่มีการใช้กันอย่างแพร่หลายคือ Globally Harmonized System of Classification and Labeling of Chemicals (GMS) ซึ่งเป็นระบบที่ใช้สากลและ National Fire Protection Association Hazard Identification System (INFPA) เป็นระบบที่ใช้ในสหรัฐอเมริกาซึ่งสัญลักษณ์ทั้งสองระบบนี้สามารถพบเห็นได้ทั่วไปบนบรรจุภัณฑ์สารเคมีในระบบ GIS จะแสดงสัญลักษณ์ในสี่เหลี่ยมกรอบสีแดงพื้นสีขาวลักษณะดังรูป

ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ สัญลักษณ์ghs


                 สำหรับสัญลักษณ์แสดงความเป็นอันตรายในระบบ NFPA จะใช้สีแทนความเป็นอันตรายในด้านต่าง ๆ ได้แก่ สีแดงแทนความไวไฟสีน้ำเงินแทนความเป็นอันตรายต่อสุขภาพสีเหลืองแทนความว่องไวในการเกิดปฏิกิริยาเคมีโดยใส่ตัวเลข 0 ถึง 4 เพื่อระบุระดับความเป็นอันตรายจากน้อยไปหามากและช่องสีขาวใช้ใส่อักษรหรือสัญลักษณ์ที่แสดงสมบัติที่เป็นอันตรายต้านอื่น ๆ ดังตัวอย่างในรูป 1. 3




1. 1. 2 ข้อควรปฏิบัติในการทำปฏิบัติ
การการท้าปฏิบัติการเคมีให้เกิดความปลอดภัยผู้ทำปฏิบัติการควรทราบเกี่ยวกับการปฏิบัติตนเปทเกตความปลอดภัยนอกจากต้องทราบข้อมูลของสารเคมีที่ใช้แล้วนายวกับการปฏิบัติตนเองต้นทั้มก่อนระหว่างและหลังทำปฏิบัติการดังต่อไปนี้ปฏิบัติการให้เข้าใจวางแผนการทดลองหากมีข้อสงสัยต้อง

ก่อนทำปฏิบัติการ
 1) ศึกษาบันตอนหรือวิธีการทำปฏิบัติการให้เข้าใจวางแผนการทดลอง A สอบถามครูผู้สอนก่อนที่จะทำการทดลอง 
2) ศึกษาข้อมูลของสารเคมีที่ใช้ในการทดลองเทคนิคการใช้เครื่องมือวัสดุอุปกรณ์ตลอดจนวิธีการทดลองที่ถูกต้องและปลอดภัย 
3) แต่งกายให้เหมาะสมเช่นสวมกางเกงหรือกระโปรงยาวสวมรองเท้ามิดชิดส้นเดียคนที่มีผมยาวควรรวบผมให้เรียบร้อยหลีกเลี่ยงการสวมใส่เครื่องประดับและคอนแทคเลนส์

ขณะทำปฏิบัติการ 
1) ข้อปฏิบัติโดยทั่วไป 
1. 1 สวมแว่นตานิรภัยสวมเสื้อคลุมปฏิบัติการที่ติดกระดุมทุกเม็ดควรสวมถุงมือเมื่อต้องใช้สารกัดกร่อนหรือสารที่มีอันตรายควรสวมผ้าปิดปากเมื่อต้องใช้สารเคมีที่มีไอระเหยและทำปฏิบัติการในที่ซึ่งมีอากาศถ่ายเทหรือในตู้ดูดควัน
1.2ห้ามรับประทานอาหารและเครื่องดื่มหรือทำกิจกรรมอื่นๆ ที่ไม่เกี่ยวข้องกับการทำปฏิบัตการ
1. 3 ไม่ทำการทดลองในห้องปฏิบัติการตามลำพังเพียงคนเดียวเพราะเมื่อเกิดอุบัติเหตุขึ้นจะไม่มีใครทราบและไม่อาจช่วยได้ทันท่วงทีหากเกิดอุบัติเหตุในห้องปฏิบัติการต้องแจ้งให้ครูผู้สอนทราบทันทีทุกครั้ง 
1. 4 ไม่เล่นและไม่รบกวนผู้อื่นในขณะที่ทำปฏิบัติการ 
1. 5 ปฏิบัติตามขั้นตอนและวิธีการอย่างเคร่งครัดไม่ทำการทดลองใด ๆ ที่นอกเหนือจากที่ได้รับมอบหมายและไม่เคลื่อนย้ายสารเคมีเครื่องมือและอุปกรณ์ส่วนกลางที่ต้องใช้ร่วมกันนอกจากได้รับอนุญาตจากตรผู้สอนเท่านั้น 
1. 6 ไม่ปล่อยให้อุปกรณ์ให้ความร้อนเช่นตะเกียงแอลกอฮอล์เตาแผ่นให้ความร้อน (hot plate) ทำงานโดยไม่มีคนดูแลและหลังจากใช้งานเสร็จแล้วให้ตับตะเกียงแอลกอฮอล์หรือปิดเครื่องและถอดปลักไฟออกทันทีแล้วปล่อยไว้ให้เย็นก่อนการจัดเก็บเมื่อใช้เตาแผ่นให้ความร้อนต้องระวังไม่ให้สายไฟพาดบนอุปกรณ์

2) ข้อปฏิบัติในการใช้สารเคมี 
2. 1 อ่านชื่อสารเคมีบนฉลากให้แน่ใจก่อนนำสารเคมีไปใช้ 
2. 2 การเคลื่อนย้ายการแปงและการถ่ายเทสารเคมีต้องทำด้วยความระมัดระวังโดยเฉพาะอย่างยิ่งสารอันตรายและควรใช้อุปกรณ์เช่นข้อนตักสารและปีกเกอร์ที่แห้งและสะอาดการเทของเหลวจากขวดบรรจุสารให้เทด้านตรงข้ามฉลากเพื่อป้องกันความเสียหายของฉลากเนื่องจากการสัมผัสสารเคมี 
2. 3 การทำปฏิกิริยาของสารในหลอดทดลองต้องหันปากหลอดทดลองออกจากตัวเองและผู้อื่นเสมอ 
2. 4 ห้ามซิมหรือสูดดมสารเคมีโดยตรงถ้าจำเป็นต้องทดสอบกลิ่นให้ใช้มือโบกให้ไอของสารเข้าจมูกเพียงเล็กน้อย
 2. 5 การเจือจางกรตห้ามเหนองกรดแต่ให้เทกรดลงน้ำเพื่อให้น้ำปริมาณมากช่วยถ่ายเทความร้อนที่เกิดจากการละลาน 
2. 6 ไม่เทสารเคมีที่เหลือจากการเทหรียตกออกจากขวดสารเคมีแล้วกลับเข้าขวดอย่างเด็ดขาดให้เทใส่ภาชนะทิ้งสารที่จัดเตรียมไว้ 
2. 7 เมื่อสารเคมีหกในปริมาเนเล็กน้อยให้กวาดหรือเข็ดแล้วทิ้งลงในภาชนะสำหรับทิ้งสารที่เตรียมไว้ในห้องปฏิบัติการหากหกในปริมาณมากให้แจ้งครูผู้สอน

ลังทำปฏิบัติการ 
1) ทำความสะอาดอุปกรณ์เครื่องแก้วและวางหรือเก็บในบริเวณที่จัดเตรียมไว้ให้รวมทั้งทำความสะอาดโต๊ะทำปฏิบัติการ 
2) ก่อนออกจากห้องปฏิบัติการให้ถอดอุปกรณ์ป้องกันอันตรายเช่นเสื้อคลุมปฏิบัติการแว่นตานิรภัยถุงมือ

1. 1. 3 การกำจัดสารเคมี
สารเคมีที่ใช้แล้วหรือเหลือใช้จากการทำปฏิบัติการให้เกิดความปลอดภัยต่อสิ่งแวดล้อมและสิ่งมีชีวิต
การกำจัดสารเคมีแต่ละประเภทสามารถปฏิบัติได้ดังนี้
1) สารเคมีที่เป็นของเหลวไม่อันตรายที่ละลายน้ำได้และมี pH เป็นกลางบวมสามารถเทลงอ่างน้ำและเปิดน้ำตามมาก ๆ ได้ 
2) สารละลายเข็มขันบางชนิดเช่นกรดไฮโดรคลอริกโซเดียมไฮดรอกไซด์ไม่ควรทิงลงอางนาหรือท่อน้ำทันทีควรเจือจางก่อนเทลงอ่างน้ำถ้ามีปริมาณมากต้องทำให้เป็นกลางก่อน 
3) สารเคมีที่เป็นของแข็งไม่อันตรายปริมาณไม่เกิน 1 กิโลกรัมสามารถใส่ในภาชนะที่ปิดมิดชิดพร้อมทั้งติดฉลากชื่อให้ชัดเจนก่อนทิ้งในที่ซึ่งจัดเตรียมไว้ 
4) สารไวไฟตัวทำละลายที่ไม่ละลายน้ำสารประกอบของโลหะเป็นพิษหรือสารที่ทำปฏิกิริยากับน้ำห้ามทิ้งลงอ่างนๆให้ทิ้งไว้ในภาชนะที่ทางห้องปฏิบัติการจัดเตรียมไว้ให้

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น